สำมะโนประชากรและเคหะ คืออะไร
สำมะโนประชากรและเคหะ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทุกคนในประเทศ ตามที่อยู่จริง และที่อยู่อาศัยของประชากรทุกคน ตามที่อยู่จริง ซึ่งเป็นเสมือนการฉายภาพนิ่ง ณ วันสำมะโน (วันที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเวลาอ้างอิง) เพื่อแสดงภาพว่า ณ วันสำมะโน ประเทศไทยมีประชากรเท่าใด อยู่ที่จังหวัด/อำเภอ/ตำบลใด เป็นชาย/หญิง เด็ก/คนทำงาน/คนแก่ คนพิการเท่าใด มีการศึกษาระดับไหน มีผู้รู้หนังสือมากน้อยเพียงใด คนในวัยทำงานมีงานทำหรือไม่ อาชีพ/สถานภาพเป็นอย่างไรและมีสถานที่อยู่อาศัยแบบไหน ถูกสุขลักษณะหรือไม่ ที่ใดมีผู้ย้ายถิ่นเข้า/ออกมาก เป็นต้น ซึ่งแตกต่างกับข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทย คือ ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์ แสดงจำนวนประชากร ตามทะเบียนบ้าน (ตามกฎหมาย) และมีข้อมูลเฉพาะเพศและอายุ เท่านั้น ทั้งนี้ประชากรจำนวนมากที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในที่อยู่อาศัยตามทะเบียนบ้าน
วัตถุประสงค์ของการจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ
1. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานของประชากร (เพศ อายุ สัญชาติ การศึกษา การทำงาน เป็นต้น) ตามที่อยู่จริง และที่อยู่อาศัย (ประเภท การมีน้ำดื่ม/น้ำใช้ เป็นต้น)
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย (หมู่บ้าน อบต. เทศบาล เป็นต้น)
3. เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรและที่อยู่อาศัยในรอบ 10 ปี
ประโยชน์ของข้อมูลสำมะโนประชากรและเคหะ
ภาครัฐ
1. ใช้ในการกำหนดโยบาย/วางแผนทั้งด้านประชากร เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
2. ใช้เพื่อจัดเตรียมงบประมาณเพื่อจัดหาสาธารณูปโภคและบริการขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้ตรงตามความต้องการหรือตามความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น (หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด) อาทิเช่น
- การจัดหาสาธารณูปโภคให้เพียงพอและถูกสุขลักษณะ (ที่อยู่อาศัย น้ำ/ไฟ การบริการสาธารณสุข รถประจำทาง ที่ทิ้งขยะ ฯลฯ)
- การจัดจำนวนโรงเรียน/ครูให้เพียงพอและเหมาะสม โดยมีเป้าหมายคือให้เด็กทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การจัดเตรียมวัคซีนสำหรับเด็กแต่ละวัยให้เพียงพอ
- การจัดสวัสดิการให้เพียงพอกับคนด้อยโอกาส (คนชรา คนพิการ)
- ในพื้นที่ที่มีแรงงานต่างด้าวอยู่หนาแน่นหรือแออัด จำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการด้านแรงงานให้เหมาะสมและต้องจัดบริการสาธารณสุขให้เพียงพอ เพื่อป้องกันโรคระบาด/โรคติดต่อบางประเภทที่หายไปแล้วในประเทศไทย แต่มีโอกาสกลับมาใหม่กับแรงงานต่างด้าว
- ข้อมูลโครงสร้างของประชากรตามที่อยู่จริง จะใช้เป็นฐานในการจัดแผนยุทธศาสตร์จังหวัด โดยในการจัดทำ GPP นั้นจำเป็นต้องใช้จำนวนประชากรที่ถูกต้องครบถ้วนในระดับจังหวัด และในการคำนวณตัวชี้วัดที่แสดงผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการในจังหวัดได้อย่างถูกต้องนั้น ต้องใช้จำนวนประชากรจริงเป็นตัวหาร เช่น รายได้เฉลี่ยต่อหัว อัตราการมารับบริการด้านต่างๆ เป็นต้น
3. ใช้เป็นฐานในการคาดประมาณประชากรในอนาคต (Population Projection)
4. ใช้ในการประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2550-2554) และใช้จัดเตรียมแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559)
5. ใช้เป็นกรอบในการเลือกตัวอย่าง (Sampling Frame) สำหรับการสำรวจในรายละเอียดเฉพาะเรื่องด้านประชากร/สังคม
6. ใช้เป็นฐานร่วมกับการสำรวจต่างๆ เช่น การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในการจัดทำตัวชี้วัดต่างๆ เช่น
- แผนที่ความยากจน (Poverty Mapping)
- แผนที่ผู้หิวโหย (Hunger Mapping)
ภาคเอกชน
ใช้ข้อมูลความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ต่างๆ (ตามเพศ อายุ อาชีพ เป็นต้น) เพื่อประกอบ การตัดสินใจในการทำธุรกิจ เช่น ตั้งร้านค้าหรือขยายกิจการตามลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ภาคประชาชน
มีความอยู่ดีมีสุข เนื่องจากได้รับบริการจากภาครัฐอย่างเพียงพอและทั่วถึง
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้กำหนดแผนที่จะใช้วิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. การสัมภาษณ์ เป็นวิธีหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำสำมะโนครั้งนี้ ซึ่งผู้สัมภาษณ์ สามารถชี้แจงรายละเอียดและตอบข้อซักถามแก่ผู้ตอบสัมภาษณ์ได้โดยตรง
2. การทอดแบบ เป็นวิธีที่ใช้ในกรณีที่เป็นสถานที่ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่ เช่น แฟลต หรือคอนโดมิเนียมบางแห่ง และกรณีที่ไม่พบตัวผู้ตอบสัมภาษณ์ พบตัวยาก ไปหลายครั้งไม่พบ จะใช้วิธีการทอดแบบสอบถาม และนัดหมายมารับหรือสัมภาษณ์ภายหลัง
3. การให้ข้อมูลทาง Internet เป็นวิธีที่ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการทำสำมะโนครั้งนี้
4. การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์ ผ่าน Telephone Interview Center
การเสนอผลและการเผยแพร่
การเสนอผล สำมะโนประชากรเคหะ พ.ศ. 2553 เสนอผลดังนี้
1) รายงานผลเบื้องต้น ประมวลผลจากแบบนับจด เพื่อเสนอผลในระดับจังหวัด
(76 ฉบับ) และทั่วราชอาณาจักร (1 ฉบับ)
2) รายงานผลล่วงหน้า ประมวลผลจากแบบแจงนับของครัวเรือนตัวอย่าง ร้อยละ 2 เพื่อเสนอผลในระดับภาคและทั่วราชอาณาจักร (1 ฉบับ)
3) รายงานผลฉบับสมบูรณ์ ประมวลผลจากแบบแจงนับของครัวเรือนทั้งหมด เพื่อเสนอผลในระดับจังหวัด (76 ฉบับ) ระดับภาค (4 ฉบับ) และทั่วราชอาณาจักร (1 ฉบับ)
4) รายงานเชิงวิเคราะห์ ร่วมกับสถาบันการศึกษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในเรื่องที่สำคัญและสอดคล้องกับความต้องการที่จะใช้ในการวางแผน เช่น การย้ายถิ่น ภาวะเจริญพันธุ์
การเผยแพร่ข้อมูล ข้อมูลสำมะโนฯ ที่ได้จะเผยแพร่ ดังนี้
1) ในรูปเอกสารรายงาน แผ่นพับ Diskette, CD-ROM
2) Internet, Web Publication
3) Data Warehouse
4) Census Info
5) ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS)
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
ยุคประชากรล้นเมือง

ภาวะที่ประชากรมีจำนวนมากเกินพื้นที่หรือที่อยู่อาศัย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนโดยตรง
เนื่องเพราะการที่มีประชากรมากเกินไป ไม่เพียงหมายถึงความหนาแน่นของคนต่อพื้นที่เท่านั้น หากยังหมายถึงการแย่งชิงทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอีกด้วย เช่น ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 10 คน แต่มีน้ำเพื่อการบริโภคเพียง 9 แก้วเท่านั้น เช่นเดียวกับอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัย ที่ทำให้ต้องเกิดการแย่งชิง หรือไม่ก็บุกรุกพื้นที่ทางธรรมชาติ
การมีประชากรล้นเมืองอาจเกิดได้ทั้งการมีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก รวมทั้งวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ก็ทำให้ชีวิตของคนเรายืนยาวขึ้น นอกจากนี้ การย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของคนต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดการขยายออกไปของเมืองเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย หากทรัพยากรได้ถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะสามารถผลิตใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ ย่อมจะต้องเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาอย่างแน่นอน
ประชากรมนุษย์ในโลกเริ่มมีมาตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็ง โดยเริ่มรวมตัวกันเป็นชุมชนขึ้น ตั้งแต่เริ่มมีการทำการเกษตร หรือตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยคาดว่าคนทั้งโลกรวมกันแล้วมีอยู่ราว 5 ล้านคน หลังจากนั้นจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นราวปีละเป็นหลักพันเท่านั้น ทว่า ในราวปี 1,000-ปีแรกของคริสตกาล คาดว่าช่วงนั้นมีจำนวนประชากรทั้งโลกราว 200-300 ล้านคน
ในช่วงต้นคริสตกาล ไม่เกิน 1,000 ปี การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในโลกเป็นไปอย่างเชื่องช้าแต่คงที่ อย่างไรก็ตาม ประชากรโลกถูกทำลายลงอย่างมากเมื่อเผชิญกับ "ความตายสีดำ" หรือโรคระบาดครั้งใหญ่ในยุโรปศตวรรษที่ 14 แต่กระนั้น หลังศตวรรษที่ 16 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรของโลกก็เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างห้ามไม่หยุดฉุดไม่อยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรของประเทศในเอเชียบางประเทศ อย่างเช่น ประเทศจีน ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงราชวงศ์หมิง และยิ่งเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดหลังศตวรรษที่ 17 เมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศจีน ในปี 1804 คาดว่าจีนมีประชากรทั้งสิ้นเป็นพันล้านคนแล้ว
ในปี 2009 คาดว่ามีประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นกว่า 3 เท่าของจำนวนคนที่เสียชีวิตไปในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตอาหารก้าวหน้ามาก โดยสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายในระบบอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจุบัน ประมาณการว่าจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นราวปีละ 74 ล้านคน โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 1,100 ล้านคนทั่วโลก โดยแบ่งเป็นทวีปแอฟริกา 1,900 ล้านคน เอเชีย 5,200 ล้านคน ยุโรป 664 ล้านคน อเมริกาใต้และแคริบเบียน 769 ล้านคน และอเมริกาเหนือ 445 ล้านคน
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงประชากรของไทย
ประชากรโลก ประชากรไทย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มติชนรายวัน วันที่ 15 กรกฎาคม 2546 เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา(Dynamic)
ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อนานาประเทศในโลก องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญของประชากร โดยประกาศในปี 2530 ให้ วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันประชากรโลก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจและได้จัดทำบทความนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลก และสถานการณ์ของประชากรไทย
ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 3,000 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 4,000 ล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนครบ 5,000 ล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 (องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันประชากรโลก") จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6,000 ล้านคน ในปี 2542
และจากการคาดประมาณ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2546 นี้ โลกจะมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านคน เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรโลก จะเห็นว่าประเทศจีนและอินเดียเพียง 2 ประเทศเท่านั้น ก็มีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลกแล้ว ที่น่าสนใจคือประเทศที่มีประชากรมากส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย หรือประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในทวีปเอเชีย และประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก
ตารางที่ 1 ประเทศที่มีขนาดของประชากรใหญ่ที่สุดในโลก พ.ศ.2545
| ||
อันดับที่
|
ประเทศ
|
ประชากร (ล้านคน)
|
1
|
จีน
|
1,281
|
2
|
อินเดีย
|
1,050
|
3
|
สหรัฐอเมริกา
|
287
|
4
|
อินโดเนเซีย
|
217
|
5
|
บราซิล
|
174
|
6
|
รัสเซีย
|
144
|
7
|
ปากีสถาน
|
144
|
8
|
บังกลาเทศ
|
134
|
9
|
ไนจีเรีย
|
130
|
10
|
ญี่ปุ่น
|
127
|
11
|
เม็กซิโก
|
102
|
12
|
เยอรมนี
|
82
|
13
|
ฟิลิปปินส์
|
80
|
14
|
เวียดนาม
|
80
|
15
|
อียิปต์
|
71
|
16
|
เอธิโอเปีย
|
68
|
17
|
ตุรกี
|
67
|
18
|
อิหร่าน
|
66
|
19
|
ไทย
|
63
|
การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีปหรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลักนอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วนของการเพิ่มประชากรโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก 1 นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน ในขณะที่ประเทศไทยทุก 1 นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น 1 คน ซึ่ง 1 คนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และประชากรไทยดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี
ตารางที่ 2 โครงสร้างประชากรไทย พ.ศ.2527-2562
| ||||||
โครงสร้างประชากร
|
ปี พ.ศ.
| |||||
2527...
|
2539...
|
2544
|
2545
|
2546..
|
2562
| |
(จำนวนประชากร)
|
60,637
|
60,003
|
62,614
|
63,430
|
63,959
|
70,213
|
รวม
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
วัยเด็ก
|
36.9
|
27.4
|
26.2
|
24.9
|
24.5
|
20.0
|
วัยทำงาน
|
57.4
|
64.4
|
65.5
|
65.7
|
66.9
|
65.3
|
วัยสูงอายุ
|
5.7
|
8.2
|
9.3
|
9.4
|
9.6
|
14.7
|
จำนวนปีที่แตกต่าง
|
12
|
23
|
สำหรับประเทศไทยนั้นมีประชากรครบ 50 ล้านคน เมื่อปี 2527 และ 60 ล้านคน ในอีก 12 ปีต่อมา(ปี2539) ต่อจากนั้นได้มีการคาดประมาณว่าจะมีประชากร 70 ล้านคน ในอีก 23 ปีข้างหน้า คือ ปี 2562 จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรไทยเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการวางแผนครอบครัว จนทำให้ปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือกล่าวได้ว่าสตรี 1 คน จะมีบุตรน้อยกว่า 2 คน
ในขณะที่อายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต คือ ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่รวดเร็วมากจากร้อยละ 5.7 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี 2546 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก(0-14 ปี) จะลดลงจากร้อยละ 36.9 ในปี 2527 เหลือเพียงร้อยละ 20.0 ในปี 2562 ถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก
การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก และประชากรไทย พ.ศ.2546
| ||
การเพิ่มตามธรรมชาติ ต่อ
|
ประชากรโลก
|
ประชากรไทย
|
(จำนวนประชากร)
|
(6,302,309,691)
|
(63,959,000)
|
ปี
|
73,447,055
|
529,000
|
เดือน
|
6,120,588
|
44,083
|
สัปดาห์
|
1,412,443
|
10,146
|
วัน
|
201,225
|
1,449
|
ชั่วโมง
|
8,384
|
60
|
นาที
|
140
|
1
|
การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นประชากรสูงอายุนี้ กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทุกคนในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เช่น การบริโภค การลงทุน การออม ตลาดแรงงาน ระบบการจ่ายเบี้ยบำนาญ การเก็บภาษี การให้บริการสาธารณสุข สถาบันครอบครัว แบบแผนการอยู่อาศัย การย้ายถิ่น เป็นต้น
สรุป
ประชากรโลกและประชากรไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ที่คล้ายคลึงกัน คือการเกิด และการตายแต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย มีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีประชากร มากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก และมีประชากรคิดเป็น 1% ของประชากรโลก ขนาดของประชากรไทยมีการเคลื่อนไหวของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี ประเทศไทยประสบความสำเร็จด้านการวางแผนครอบครัว ทำให้มีอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน ในขณะที่ประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างของประชากรไทยจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นประชากรสูงอายุในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ปัญหาประชากร นับเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่ง ซึ่งมีการศึกษาวิจัยเป็นจำนวนมาก โดยแบ่งกลุ่มอายุหลักๆ ได้เป็นประชากร 3 วัย คือ วัยเด็ก วัยทำงาน และวัยสูงอายุ และมีการนำเอาผลวิจัยที่ได้มาใช้ในการพัฒนา และการวางแผนการกำหนดนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วิวัฒนาการในการตั้งถิ่นฐาน โดย นายสันทัด สมชีวิตา และคนอื่น ๆ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน
การตั้งถิ่นฐาน เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว จึงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อตั้งบ้านเรือนและจัดการกับสิ่งรอบตัวให้เหมาะกับการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานนั้น ๆ ดังนี้
ก. ปัจจัยทางกายภาพ แบ่งได้เป็น
๑) โครงสร้างและระดับความสูงของพื้นที่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าเขตที่ราบมีความเหมาะสมที่จะตั้งถิ่นฐานมากกว่าเขตที่สูงหรือภูเขา เนื่องจากลักษณะพื้นที่กว้างขวางราบเรียบทำให้สามารถเพาะปลูกได้สะดวก และเขตที่ราบมักจะมีดินอุดมสมบูรณ์ สามารถปลูกพืชได้หลายชนิดมากกว่า สำหรับพื้นที่สูงหรือทุรกันดารซึ่งเข้าถึงลำบากนั้น มีเหตุจูงใจให้มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่บ้าง เช่น เพื่อความปลอดภัยจากการรุกราน หรือหากจำเป็นต้องตั้งถิ่นฐานตามภูเขาก็มักจะเลือกอยู่อาศัยในลาดเขาด้านที่เหมาะสม
๒) อากาศ อากาศมีผลโดยตรงต่อมนุษย์เนื่องจากมีบทบาทสำคัญในการกำหนดลักษณะดินและพืช สภาพของดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐาน มีอิทธิพลต่อการสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย และวิถีการดำรงชีวิตจากแผนที่แสดงการกระจายตัวประชากรจะเห็นได้ว่า ประชาชนจะอยู่กันหนาแน่นในเขตที่มีอากาศเหมาะสม ส่วนบริเวณที่มีอากาศปรวนแปรจะมีประชาชนเบาบาง หรือปราศจากผู้อยู่อาศัย
นอกจากอุณหภูมิแล้ว ความชื้นของอากาศก็มีความสำคัญ ในแถบศูนย์สูตรที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นจะทำให้เหนื่อยง่าย มีเหงื่อมาก ไม่สบายตัว ในเขตอากาศเย็นกว่าแถบละติจูดกลาง อุณหภูมิเย็นพอเหมาะ ทำให้การตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
๓) น้ำ ปัจจัยในเรื่องน้ำมีอิทธิพลต่อการตั้งถิ่นฐานมาก โดยเฉพาะในสมัยโบราณการตั้งถิ่นฐานทุกแห่งเป็นการหาพื้นที่ที่จะทำการเกษตรด้วย น้ำที่ใช้ในการทำเกษตรกรรมไม่จำเป็นต้องมาจากฝนหรือแหล่งน้ำลำธารแต่เพียงอย่างเดียว ในบางแห่งที่ขาดฝน อาจหาแหล่งน้ำอื่น ๆ มาใช้เพื่อการเกษตร เช่น น้ำบาดาล
ปัจจุบันมนุษย์สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำไปได้มาก เช่น การจัดการระบายน้ำของชาวดัตช์ ทำให้สามารถขยายพื้นที่เพาะปลูกไปในที่ลุ่มต่ำกว่าระดับน้ำทะเลได้ สำหรับในประเทศไทยสามารถเพิ่มเนื้อที่เพาะปลูกริมทะเลด้วยการถมทะเล หรือโครงการพัฒนาลุ่มน้ำตามภาคต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยปรับปรุงพื้นที่ชนบทให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างกว้างขวาง
ข. ปัจจัยทางวัฒนธรรม
การที่มนุษย์ครอบครองพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ณ ที่ใดที่หนึ่ง ย่อมมีอิทธิพลต่อสภาพธรรมชาติ รวมทั้งเกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในถิ่นฐานเดียวกัน และระหว่างถิ่นฐานต่าง ๆ
วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันออกไปในถิ่นฐานแต่ละแห่ง สามารถจำแนกได้เป็น
๑) ภาษา โดยเฉพาะภาษาพูด ถือว่าเป็นตัวแทนของลักษณะวัฒนธรรม ภาษาเป็นสื่อสำคัญที่สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นต่อ ๆ ไป กลุ่มวัฒนธรรมต่าง ๆ มักมีภาษาของตนเอง จึงใช้ภาษาเป็นเครื่องวัดความแตกต่างของวัฒนธรรมได้ ภาษาจึงอาจเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น การห้ามใช้ภาษาต่างประเทศ เป็นวิธีที่จะให้ประชาชนหันมาสนใจและรักประเทศของตน ภูมิใจในชาติของตน รวมทั้งรักเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนยิ่งขึ้น
๒) ศาสนา ศาสนาเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรม ความเชื่อถือยึดมั่นและการปฏิบัติตามหลักของศาสนาเป็นหลักที่กำหนดวิถีชีวิตในท้องถิ่น สถานที่และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาอาจทำให้ท้องถิ่นหนึ่งมีความสำคัญมากกว่าท้องถิ่นอื่น วัด โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆทางศาสนา จะมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แตกต่างกัน แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้น ๆศาสนาอาจมีอิทธิพลต่อการเกษตรกรรม การบริโภคอาหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจ
๓) การเมือง อิทธิพลทางการเมืองมีผลต่อพื้นที่ตั้งถิ่นฐาน โดยเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินทำกิน เช่น กฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กฎหมายเกี่ยวกับการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พระราชกำหนดยกเลิกสัมปทานป่าไม้ เป็นต้น
ค. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพของมนุษย์ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมและระดับความเจริญทางเทคโนโลยี ตัวอย่างของวิวัฒนาการการประกอบอาชีพที่มีความสัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ได้แก่
๑) การเพาะปลูก การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์แบบถาวรเริ่มขึ้นเมื่อมนุษย์รู้จักเพาะปลูกด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งผลิตผลตามธรรมชาติแต่เพียงอย่างเดียว และการตั้งถิ่นฐานแบบถาวนี้ มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมาก ตัวอย่างเช่น การทำไร่เลื่อนลอย เป็นการเพาะปลูกแบบไม่บำรุงดิน เมื่อดำเนินไปหลายปีจะทำให้ดินเสื่อมสภาพลง และต้องย้ายไปหาที่เพาะปลูกใหม่หมุนเวียนไปเรื่อย ๆ เป็นการทำลายป่าและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่วนการเพาะปลูกแบบไร่นาสวนผสมจะมีการดูแลบำรุงดินที่ดีกว่า ทำให้สามารถคงความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้
๒) การเลี้ยงสัตว์ แบ่งเป็น ๓ ประเภทคือ การเลี้ยงสัตว์ไว้บริโภค ไว้ใช้งาน และไว้ขาย ส่วนใหญ่จะทำในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์แบบอยู่เป็นที่จะไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติมากเท่ากับการเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อน
๓) อุตสาหกรรม เป็นการนำผลิตผลมาดัดแปลงหรือแปรสภาพให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ เป็นกิจกรรมที่มีลักษณะซับซ้อน ในเนื้อที่น้อย ต้องใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิงจำนวนมากในการผลิต มีการใช้แรงงาน ตลอดจนต้องการความสะดวกในการคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการนำวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานและผลิตผลจากโรงงานออกสู่ตลาด ทำให้เกิดการรวมกลุ่มคนจำนวนมาก ลักษณะดังกล่าวนี้ทำให้เกิดชุมชนขึ้นและมีการขยายตัวทั้งชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งย่อมจะมีผลต่อการเติบโตของเมืองอย่างกว้างขวาง
ความสัมพันธ์ของการตั้งถิ่นฐานกับสภาพแวดล้อม
เมื่อมนุษย์มีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน มนุษย์จะรวมตัวกันอยู่เป็นกลุ่ม สร้างบ้านเรือนแหล่งที่อยู่อาศัย ทำไร่ทำนา เลี้ยงสัตว์ มีกิจกรรมร่วมกัน และมีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เมื่อเลือกสถานที่ที่จะตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยแล้ว มนุษย์ก็เริ่มจัดการกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการดำรงชีพ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ คือ
๑) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ อากาศ แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบ มหาสมุทร พื้นดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้ และสัตว์ป่า เป็นต้น
๒) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ บ้านเรือน โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนกักเก็บน้ำ เป็นต้น รวมตลอดถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจและสังคมด้วย
สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นถิ่นฐานมนุษย์ โดยมีขนบธรรมเนียม ประเพณีระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มนุษย์สร้างขึ้น และข้อจำกัดทางธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์ และเป็นหลักสำหรับการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้การดำรงชีวิตเป็นไปอย่างผาสุก และให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
มนุษย์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์จึงมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่เราเรียกกันว่าระบบนิเวศ ผลกระทบนั้นเป็นไปได้ทั้งในทางทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น หรือในทางทำลายให้เลวลง แต่ถ้าเราไม่มีการวางแผนเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานแล้ว ย่อมทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เสื่อมลง การตั้งถิ่นฐานที่ขาดการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี ก็เป็นปัจจัยอีกตัวหนึ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากการที่เรามุ่งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศขยายการก่อสร้างปัจจัยพื้น ฐาน เช่น ถนน เขื่อนสนามบิน ท่าเรือ เป็นต้น การที่เราเร่งผลิตสินค้าและบริการให้ทันกับความต้องการของถิ่นฐานที่ขยายใหญ่ขึ้น เหล่านี้ทำให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก จากกระบวนการพัฒนาและการผลิตนี้เอง ทำให้มีของเสียเหลือทิ้งออกมาในรูปต่าง ๆ เจือปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ความสมดุลของธรรมชาติเสียไป
เมื่อสิ่งแวดล้อมถูกทำลายและมีของเสียปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก สิ่งแวดล้อมก็จะอยู่ในสภาพเสื่อมโทรมและอาจจะรุนแรงถึงขั้นเป็นพิษเป็นภัยได้ การที่สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและเป็นพิษ จะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพและอนามัยของมนุษย์ อีกทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่หยุดยั้งและไม่ระมัดระวัง จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติสูญสิ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้มิได้เกิดขึ้นเฉพาะกับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปปัญหาทางสังคมอีก ซึ่งเป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่จะต้องช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่ในสภาพที่ดี มีคุณภาพเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไปในวันข้างหน้า
วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
16พ.ค.นี้บังคับใช้“ผังเมือง”ใหม่

สำหรับภาพรวมของผังเมืองฉบับใหม่ การแบ่งโซนการใช้ประโยชน์พื้นที่ยังคงใช้โครงสร้างเดิมตามผังเมืองฉบับก่อน โดยพื้นที่ศูนย์กลางเขตชั้นในของกรุงเทพฯ เป็นเขตเศรษฐกิจหลักจะเป็นพื้นที่ประเภทพาณิชยกรรมและเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น ในขณะพื้นที่รอยต่อย่านใจกลางเมืองกับชานเมือง เป็นพื้นที่ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง และที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยจะอยู่ในย่านชานเมืองทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ขณะนี้พื้นที่เขตรอบนอกเมือง ยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นพื้นที่ประเภทชนบทและเกษตรกรรม โดยพื้นที่ทแยงเขียวที่เป็นประเภทอนุรักษ์ชนบทก็ยังคงไว้เช่นเดียวกับผังเมืองในฉบับที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีที่ดินประเภทการรักษาย่านประวัติศาสตร์ในย่านเมืองเก่ากรุงรัตนโกสินทร์และกรุงธนบุรี และที่ดินประเภทอุตสาหกรรมปรากฏให้เห็นน้อยและคงถูกควบคุมไว้อยู่ในย่านชานเมือง
ทั้งนี้ในผังเมืองฉบับใหม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนตามแผนของรัฐบาล ทั้งนี้ในระยะของการบังคับใช้ผังเมืองใหม่ฉบับนี้จะมีการปรับเปลี่ยนกรุงเทพฯ จากมหานครที่มีปัญหาวิกฤติด้านการจราจรโดยรถยนต์ส่วนบุคคลมาเป็นมหานครที่ใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนจากที่ปัจจุบันมีระบบรางให้บริการในพื้นที่กรุงเทพฯ ประมาณ 60 กิโลเมตร จะเพิ่มเป็น กว่า 120 กิโลเมตร และที่สำคัญที่สุดคือผังเมืองฉบับใหม่ได้วางแผนพัฒนาให้กรุงเทพฯ เป็นมหานครสีเขียวที่ประหยัดพลังงาน และลดปัญหาภาวะโลกร้อน แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินจึงปรับให้สอดคล้องกับสภาพการพัฒนาพื้นที่ในปัจจุบันและศักยภาพการพัฒนาในอนาคตของพื้นที่บางบริเวณ นอกจากนี้ยังมีแผนผังอื่น ๆ เช่น แผนผังโครงการคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงข่ายถนนสายหลักและถนนสายรองและส่งเสริมให้มีการเข้าถึงสถานีระบบขนส่งมวลชนทางรางที่สะดวก
โดยผังเมืองฉบับนี้จะมีแผนผังพร้อมด้วยข้อกำหนด 4 ฉบับ คือ (ก) แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นแผนผังกำหนดรายละเอียดบริเวณที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางการพัฒนาของเมืองในอนาคต ระบุกิจกรรมที่อนุญาต กิจกรรมที่อนุญาตโดยมีเงื่อนไข และกิจกรรมที่ไม่อนุญาต เพื่อควบคุมการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดผล
กระทบต่อสุขลักษณะ ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม ประกอบด้วย การใช้ประโยชน์ที่ดินจำนวน 10 ประเภท โดยมีข้อกำหนดระบุกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดินและระดับความหนาแน่นของมวลอาคารเพื่อควบคุมสภาพแวดล้อมและเป็นแนวทางของการพัฒนาในพื้นที่แต่ละบริเวณ (ข) แผนผังแสดงที่โล่ง เป็นแผนผังแสดงบริเวณที่กำหนดให้เป็นที่โล่งเพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิทัศน์ที่ดีของเมือง รวมทั้งเพื่อการป้องกันน้ำท่วม และการนันทนาการ โดยมีข้อกำหนดให้ใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม และการป้องกันน้ำท่วม (ค) แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง เป็นแผนผังที่แสดงโครงข่ายการคมนาคมและขนส่งในอนาคต เพื่อให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับการพัฒนาและการขยายตัวของเมือง ประกอบด้วยแนวถนนเดิม ขยายถนนโครงการ และโครงการที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคมและขนส่ง ได้แก่ โครงการสะพาน โครงการทางพิเศษ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (ง) แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค เป็นแผนผังเพื่อส่งเสริมและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคเฉพาะส่วนที่เป็นการดำเนินการโดยกรุงเทพมหานคร ให้มีความเหมาะสมเพียงพอกับการให้บริการอย่างได้มาตรฐาน ทั้งนี้ผังเมืองฉบับนี้ยังมีแผนผังกิจการสาธารณูปโภคเป็นฉบับแรกของประวัติศาสตร์การผังเมืองไทย โดยผังโครงการกิจการสาธารณูปโภค ได้มุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย การบำบัดน้ำเสีย และการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำตามยุทธศาสตร์ของประเทศ
สำหรับสาระสำคัญข้อกำหนดที่มีความแตกต่างจากผังเมืองฉบับก่อน อาทิ เพิ่มการควบคุมกิจกรรมที่อาจขัดต่อสุขลักษณะความปลอดภัยของประชาชนและสวัสดิภาพของสังคม จำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ สนามแข่งรถ สนามแข่งม้า สนามยิงปืน สถานสงเคราะห์หรือรับเลี้ยงคนพิการ และที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับคนงาน การเปลี่ยนเกณฑ์จำแนกประเภทอาคาร จากเดิมใช้ตามกฎหมายควบคุมอาคาร เช่น “อาคารขนาดใหญ่” “อาคารสูง” และ “อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” เป็นการจำแนกตามขนาดพื้นที่การประกอบกิจกรรม เช่น ไม่เกิน 1,000 ตร.ม. 2,000 ตร.ม. 5,000 ตร.ม. 10,000 ตร.ม. และเกินกว่า 10,000 ตร.ม. เพิ่มข้อกำหนดให้มีพื้นที่น้ำซึมผ่านได้เพื่อปลูกต้นไม้ หรือ BAF ร้อยละ 50 ของอัตราส่วนพื้นที่ว่างต่อพื้นที่อาคารรวม หรือ OSR เพิ่มมาตรการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้เจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวม เป็นต้น และยังมีการเพิ่มเติม FAR Bonus เป็นมาตรการเชิงบวก โดยเจ้าของที่ดินหรือผู้ประกอบการสามารถเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) ได้ เช่น จัดให้มีที่จอดรถยนต์สำหรับประชาชนทั่วไปหากโครงการตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าที่เหมาะเป็นจุดจอดแล้วจรในรัศมี 500 เมตรได้แก่ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สถานีอ่อนนุช สถานีลาดกระบัง สถานีหัวหมาก สถานีบางบำหรุ สถานีตลิ่งชัน สถานีอุดมสุข และสถานีแบริ่ง การจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ ในโครงการอาคารพาณิชย์ สำนักงาน หรืออาคารสาธารณะในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นสูง ก็จะได้รับสิทธิ FAR เพิ่มขึ้นเช่นกัน เป็นต้น
นับว่าผังเมืองฉบับใหม่นี้ได้ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและสาระสำคัญให้เจ้าของที่ดินจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับการพัฒนาเมืองในภาพรวมและยังใช้สิทธิจูงใจทดแทนเยียวยาด้วย เป็นกฎหมายใกล้ตัวอีก 1 ฉบับสำหรับคนกรุงก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ กับที่ดินของตนเอง ตรวจสอบผังเมืองกันสักนิด จะได้ไม่เกิดปัญหาภายหลัง
วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร
ปัจจุบันประชากรโลก ได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ โดยการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก เกิดจากอัตราการเกิดและการตาย ซึ่งส่งผลกระทบเช่นเดียวกัน ในทุกประเทศทั่วโลก ด้วยองค์การสหประชาชาติ (UNFPA)ได้เล็งเห็นความสำคัญของประชากรหรือมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรหลัก ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ โดยทั่วโลกได้มีการเฉลิมฉลอง จำนวนประชากรโลกที่มีจำนวนครบ 5,000 ล้าน เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ.2530 องค์การสหประชาชาติ จึงได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฏาคมของทุกปี เป็นวันประชากรโลก
ประชากรโลกนั้นมีแนวโน้มว่าจะมีวัยเด็กลดน้อยลง โดยจำนวนของประชากรสูงอายุมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น แสดงว่าโครงสร้างของประชากรได้เปลี่ยนแปลงเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ (Anging Society) ซึ่งขณะนี้ยุโรปกลายเป็นภูมิภาค ที่มีผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอิตาลี กรีซ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ หลายต่อหลายประเทศ จึงพยายามศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับผู้สูงอายุมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศของตนให้มีคุณภาพกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ” ต่อไปในอนาคต
ชาวเอเชียมีจำนวนสูงถึง 60% ของจำนวนประชากรโลก ซึ่งประเทศจีน เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก และตามมาด้วยประเทศอินเดีย ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ในอันดับที่ 19 โดยมีประชากรจำนวน 60 ล้านคน (2539) ซึ่งคาดการณ์เอาไว้ว่าในปี พ.ศ.2562 ประชาชนชาวไทยจะมีจำนวน 70 ล้านคน

ในประเทศไทย ก็มีแนวโน้มเข้าสังคมผู้สูงอายุ เช่นเดียวกับหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรไทยลดลง สืบเนื่องมากจากการวางแผนครอบครัว ซึ่งพบว่าปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือผู้หญิงหนึ่งคนจะมีลูกไม่เกิน 2 คน อีกทั้งประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2527 คิดเป็นร้อยละ 5.7 และในปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 9.6 คาดว่าน่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 แสดงว่าในอนาคตประเทศไทย น่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก เพราะฉะนั้นประชากรไทย และประชากรทั่วโลก จะต้องมีแผนการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจเพื่อรองรับระบบสังคมในอนาคตต่อไป
รายงานฉบับใหม่ของสำนักสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐระบุว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของประชากรโลกสูงขึ้นในอัตราที่รวดเร็วที่สุดกว่าที่เคยเป็นมา และในอีกราว 10 ปี ประชากรโลกที่อายุเกิน 65 ปีจะมีจำนวนมากกว่าเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์
รายงานการสำรวจของสำนักสำมะโนประชากรสหรัฐฉบับล่าสุดระบุว่า ภายในปี 2040 ประชากรโลกที่อายุเกิน 65 ปีจะเพิ่มจาก 7% เป็น 14% คิดเป็นจำนวนจาก 506 ล้านคนเป็น 1,300 ล้านคน โดยประชากรอายุเกิน 65 ปีในประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้นถึงจาก 313 ล้านคนในปัจจุบันเป็นมากกว่า 1 พันล้านคนในปี 2040 โดยเฉพาะในจีนและอินเดีย ซึ่งประชากรอายุเกิน 65 ปีจะเพิ่มขึ้นจาก 166 ล้านคน เป็น 551 ล้านคนในอีก 31 ปีข้างหน้า
ประชากรโลกอายุ 80 ปีหรือมากกว่าคือกลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในหลายๆ ประเทศ และคาดว่าจำนวนประชากรในกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 200% ก่อนปี 2050 ในขณะที่จำนวนประชากรโลกที่อายุมากกว่า 100 ปีก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ปัจจุบันมีผู้ที่อายุเกินกว่า 100 ปีประมาณ 340,000 คนทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากจำนวนไม่กี่พันคนเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกาและญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ยุโรปจะยังคงเป็นแถบที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยสูงที่สุดต่อไป จนถึงช่วงกลางศตวรรษนี้ ในขณะที่ประเทศแถบทางใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า คือแถบที่มีประชากรมีอายุเฉลี่ยน้อยที่สุด
บรรดาผู้เชี่ยวชาญให้เหตุผลว่า มี 2 ปัจจัยที่ทำให้อายุเฉลี่ยของประชากรโลกสูงขึ้น คือผู้คนอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาการรักษาพยาบาล และอัตราการเกิดของประชากรลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเอเชียและยุโรปหลายประเทศ หนุ่มสาวจำนวนมากที่แต่งงานมีลูกไม่ถึง 2 คนซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมในการทดแทนจำนวนประชากร โดยผู้หญิงในแถบเอเชียตะวันออกและยุโรปตะวันตก มีบุตรเฉลี่ย 1.6 คน ในขณะที่คู่แต่งงานในยุโรปตะวันออกมีบุตรเฉลี่ยเพียง 1.4 คน
สำหรับหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรม การมีประชากรสูงอายุจำนวนมากถือเป็นปัญหาท้าทายประการหนึ่ง เนื่องจากประชากรวัยแรงงานจะมีจำนวนลดลง ในขณะที่ผู้เกษียณอายุมีมากขึ้น รายได้จากภาษีของรัฐบาลจะลดลง ส่งผลกระทบด้านลบในระยะยาวต่อเศรษฐกิจ และอาจเกิดเป็นปัญหาสังคมได้ ปัจจุบันรัฐบาลหลายประเทศ จึงกำลังกระตุ้นให้ประชากรทำงานนานขึ้น และสนับสนุนให้เกษียณอายุตอน 70 ปี ซึ่งจะช่วยให้มีประชากรในวัยแรงงานที่ช่วยจ่ายภาษีมากขึ้น และชะลอการจ่ายเงินบำนาญไว้ได้อีกหลายปี


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรโลก
ปัจจัยหลักที่ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก
-การค้นคว้าทางการแพทย์ ที่มีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การผลิตวัคซีนป้องกันและรักษาโรค รวมถึงมีองค์การที่เกี่ยวกับการระบาดของโรคและวัฏจักรของการแพร่เชื้อโรค
-ความรู้เรื่องสุขอนามัยของประชากร ประชากรโลกแทบทุกประเทศมีความรู้เรื่องสุขอนามัยมากขึ้นรวมทั้งมีการจัดการระบบ การวางแผนครอบครัวที่มีประสิทธิภาพ
-ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ที่ประชาชนสามารถรับรู้ข่าวสารทางการแพทย์ และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เช่น ผู้ป่วยสามารถปรึกษาอาการกับแพทย์ ได้ทางโทรศัพท์หรือสื่อต่างๆ หรือการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ ผ่านระบบโทรคมนาคมต่างๆ เป็นต้น
-ระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้หญิงเริ่มมีบทบาททางสังคมมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงทีมีทัศนคติต่อการแต่งงานเป็นด้านลบ ส่งผลให้จำนวนประชากรวัยเด็กลดน้อยลง
ปัญหาของการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก
1.ปัญหาการขาดแคลนอาหารและทัพยากร
- เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมากอาหารและทรัพยากรต่างๆ ย่อมไม่เพียงพอต่อความต้องการ ก่อให้เกิดการขาดแคลนในบางประเทศที่กำลัีงพัฒนา
- การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ อาจทำให้อาหารมีสารพิษปนเปื้อน หรือ ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ
2.ปัญหาการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
- เมื่อมีการขาดแคลนทรัพยากรเกิดขึ้นทำให้ต้องมีการบุกรุกป่าไม้ เพื่อที่จะหาทรัพยากร ทำให้เกิดการขาดพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการทำลายระบบนิเวศน์
- ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างมาก มีการปล่อยของเสียสู่ที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ประชากรโลก และ ทำให้สภาพอากาศโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
3.ปัญหาด้านคุณภาพชีวิตและสังคม
- เมื่อทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัด แต่ประชากรกลับเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดการแย่งชิงทรัพยกรและการแข่งขันทางสังคมสูงขึ้น
- ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสังคม เช่น การขาดการศึกษา สุขภาพอนามัยไม่ดี ขาดแคลนที่อยู่ และ ปัญหาการว่างงาน
4.ปัญหาการขัดแย้งระหว่างประเทศ
- ประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว บางประเทศมีนโยบายระบายประชากรออก เเพื่อแสวงหาอาณานิคมและทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ซึ่งอาจทำหใ้เกิดการขัดแย้งขึ้นประหว่างประเทศ
- ก่อให้เกิดปัญหา รุกกล้ำข้ามพรมเดิน หรือ ผู้อพยบเข้ามาอย่างผิดกฏหมาย

เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของประชากรโลกเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อทุกๆ ประเทศในโลก องค์การสหประชาชาติได้ให้ความสำคัญของประชากร โดยประกาศในปี 2530 ให้ วันที่ 11 กรกฎาคมของทุกปีเป็น วันประชากรโลก สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจและได้จัดทำบทความนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลกและสถานการณ์ของประชากรไทย
เมื่อกล่าวถึง ประชากร มักจะมองเห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงที่มีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา(Dynamic สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความสนใจและได้จัดทำบทความนี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามแนวโน้มประชากรโลก และสถานการณ์ของประชากรไทย ประชากรโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จาก 3,000 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 4,000 ล้านคน ในปี 2518 และเพิ่มขึ้นจนมีจำนวนครบ 5,000 ล้านคน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2530 (องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น "วันประชากรโลก")จากนั้นประชากรโลกก็เพิ่มเป็น 6,000 ล้านคน ในปี 2542 และจากการคาดประมาณ พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2546 นี้ โลกจะมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,300 ล้านคน เมื่อพิจารณาการกระจายตัวของประชากรโลก จะเห็นว่าประเทศจีนและอินเดียเพียง 2 ประเทศเท่านั้น ก็มีประชากรประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรโลกแล้ว ที่น่าสนใจคือประเทศที่มีประชากรมากส่วนใหญ่จะอยู่ในทวีปเอเชีย หรือประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในทวีปเอเชียและประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก
การเปลี่ยนแปลงของประชากรโลก ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง ที่เกิดจากปัจจัยหลักเพียง 2 ประการคือ การเกิด และการตาย ซึ่งแตกต่างจากการเปลี่ยนแปลงของประชากร ในภูมิภาคย่อยๆ เช่น ทวีปหรือประเทศ ที่มีปัจจัยหลักนอกจากการเกิด และการตายแล้ว ยังมีการย้ายถิ่นของประชากรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ประเทศไทยมีขนาดของประชากรประมาณ 1% ของประชากรโลกและมีการเพิ่มขึ้นของประชากรประมาณ 1 ใน 140 ส่วนของการเพิ่มประชากรโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าทุก 1 นาที โลกจะมีเด็กเกิดใหม่ 140 คน ในขณะที่ประเทศไทยทุก 1 นาที จะมีประชากรไทยเพิ่มขึ้น 1 คน ซึ่ง 1 คนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจจะเป็นเด็กเกิดใหม่ หรืออาจจะเป็นการเพิ่มโดยการย้ายถิ่นเข้ามาจากต่างประเทศก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และประชากรไทยดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี

สำหรับประเทศไทยนั้นมีประชากรครบ 50 ล้านคน เมื่อปี 2527 และ 60 ล้านคน ในอีก 12 ปีต่อมา
(ปี2539) ต่อจากนั้นได้มีการคาดประมาณว่าจะมีประชากร 70 ล้านคน ในอีก 23 ปีข้างหน้า คือ ปี 2562 จะเห็นได้ว่าการเพิ่มขึ้นของประชากรไทยเป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกทั้งประเทศไทยประสบความสำเร็จ ในการวางแผนครอบครัว จนทำให้ปัจจุบันประชากรไทย มีอัตราเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทนถึงประมาณ 1.8 คน หรือกล่าวได้ว่าสตรี 1 คน จะมีบุตรน้อยกว่า 2 คน
ในขณะที่อายุของคนไทยยืนยาวขึ้น ฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต คือ ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุ(60 ปีขึ้นไป) เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่รวดเร็วมากจากร้อยละ 5.7 ในปี 2527 เป็นร้อยละ 9.6 ในปี 2546 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 14.7 ในปี 2562 ในขณะที่ประชากรวัยเด็ก(0-14ปี) จะลดลงจากร้อยละ 36.9 ในปี 2527 เหลือเพียงร้อยละ 20.0 ในปี 2562 ถ้าเป็นเช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยน่าจะมีประชากรสูงอายุมากกว่าประชากรวัยเด็ก

การเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นประชากรสูงอายุนี้ กำลังเกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อทุกคนในสังคมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม เช่น การบริโภค การลงทุน การออม ตลาดแรงงาน ระบบการจ่ายเบี้ยบำนาญ การเก็บภาษี การให้บริการสาธารณสุข สถาบันครอบครัว แบบแผนการอยู่อาศัย การย้ายถิ่น เป็นต้น
สรุป ประชากรโลกและประชากรไทยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลง ที่คล้ายคลึงกัน คือการเกิด และการตาย แต่สำหรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรไทย มีการย้ายถิ่นเกี่ยวข้องด้วย ประมาณร้อยละ 60 ของประชากรโลกอยู่ในทวีปเอเชีย ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีประชากร มากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก และมีประชากรคิดเป็น 1% ของประชากรโลก ขนาดของประชากรไทยมีการเคลื่อนไหวของจำนวนประชากร ที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่เป็นการเพิ่มในอัตราที่ลดลงทุกปี ประเทศไทยประสบความสำเร็จด้านการวางแผนครอบครัว ทำให้มีอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวม ลดลงต่ำกว่าระดับทดแทน ในขณะที่ประชากรไทยมีอายุยืนยาวขึ้นทำให้โครงสร้างของประชากรไทยจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นประชากรสูงอายุในอนาคต

เป็นที่น่าสังเกตว่าการเพิ่มประชากรนั้นระหว่างกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว (More Developed Countries) กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา (Less Developed Countries) แตกต่างกันอย่างมาก กล่าวคือ
1. ประเทศที่พัฒนาแล้วอัตราการเพิ่มประชากรมีอัตราเพิ่มค่อนข้างต่ำ
เมื่อเข้าสู่ปี พ.ศ. 2543 มีแนวโน้มว่าอัตราการเพิ่มจะเป็นลบ และเริ่มปรากฏให้เห็นแล้วในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบ ยุโรป เช่น เยอรมันนี เดนมาร์ก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะประเทศเหล่านี้มีมาตรฐานของชีวิตค่อนข้างสูง มีการศึกษาดี เข้าใจภาวะของครอบครัวและสังคม มีฐานะทางเศรษฐกิจดีรายได้สูง และอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมาก ดังนั้นในรอบวันชีวิตจะมีกิจกรรมหลากหลายรัดตัว การจะมีลูกแต่ละครั้งจะต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบถึงความรับผิดชอบในการเลี้ยงดู การให้การศึกษา การอบรม และการวางอนาคตของเยาวชน อีกประการหนึ่งภาวะสังคมของประเทศพัฒนาแล้วนั้นประชากรชายหรือหญิงต่างก็มีอาชีพของตนเอง ผู้หญิงไม่ได้มีภาวะต้องพึ่งพาสามีเป็นผู้เลี้ยงดูอีกต่อไป สามารถยังชีพด้วยตนเองได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องขวนขวายหาคู่ครองเพื่อให้เลี้ยงดูตน การแต่งงานจึงลดน้อยลงไป คนโสดมีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้แนวโน้มว่าในอนาคตประชากรจะลดลงเรื่อย ๆ ดังตารางที่ 3-2 ซึ่งคาดคะเนอนาคตของประชากรในประเทศที่มีจำนวนประชากรสูง 20 อันดับแรกของโลก จะเห็นว่าในปี พ.ศ. 2593 ประเทศพัฒนาแล้วที่ติดอันดับอยู่ 3 ประเทศในปี พ.ศ.2546 คือ ญี่ปุ่นมีประชากรอยู่ 126 ล้าน ลดลงเหลือ 110 ล้าน ในปี พ.ศ. 2593 ส่วนประเทศเยอรมันนีมีประชากร 82 ล้านคนและประเทศฝรั่งเศสมีประชากร 60 ล้านคน เมื่อถึงปี พ.ศ. 2593 ไม่ปรากฏในตาราง นั่นคือ 2 ประเทศนี้มีประชากรไม่ถึง 89 ล้านคนนั่นเอง
ภาวะเช่นนี้กลับสร้างปัญหาให้กับประเทศเหล่านี้ตามมา คือ ขาดแคลนแรงงาน ค่าแรงราคาแพง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง เสียเปรียบการแข่งขันในตลาดโลก และทำให้มีแรงงานต่างชาติอพยพเข้ามา เกิดภาวะความขัดแย้งทางสังคมตามมาได้
2. ประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการเพิ่มประชาสูงอย่างต่อเนื่อง
ในประเทศกำลังพัฒนากลับเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 เป็นต้นมามีอัตราการเพิ่มที่น่าตกใจ แต่ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอัตราการเพิ่มเริ่มลดลงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เอเชีย และ ลาตินอเมริกา ยกเว้นทวีปอฟริกา โดยอัตราการขยายตัวของประชากรโลกโดยเฉลี่ยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 1.31% กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีอัตราการเกิดเพียง 0.31% ขณะที่แอฟริกาอัตราการเกิดมีอัตราเพิ่มลดลง แต่ยังถือว่าสูง ถึง 2.31% (อนุสรณ์ ธรรมใจ, 2547.) และจะเห็นได้ชัดเจนจากตาราง 3-2 ที่ประเทศจากทวีปแอฟริกาดังกล่าวติดเข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีประชากรมาก 20 อันดับแรกจำนวนมากถึง 6 ประเทศ คือ ไนจีเรีย คองโก เอธิโอเปีย อียิปต์ ซูดาน ยูกานดา ประเทศเหล่านี้ถ้าพิจารณาถึงศักยภาพการเลี้ยงดูประชากรแล้วจะพบว่ามีปัญหาค่อนข้างสูง เป็นประเทศขนาดเล็ก มีทรัพยากรธรรมชาติไม่มากนัน และยังมีปัญหาทางด้านศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อีกด้วย นอกจากนี้มีบางประเทศของเอเชียก็มีอัตราการเพิ่มสูงมากด้วย เช่น ปากีสถาน บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม
การเปลี่ยนแปลงของประชากรมนุษย์ในลักษณะของการเพิ่มจำนวนอย่างมากนี้เป็นแรงผลักให้ต้องแสวงหาพื้นที่ทำกินมากขึ้น อีกทั้งประเทศเหล่านี้มีความก้าวหน้าในทางเทคโนโลยีค่อนข้างต่ำ ขาดศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในการเลี้ยงดูประชากรโดยรวม ดังนั้นรายได้จึงได้มาจากการขยายพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงดังได้กล่าวมาแล้ว
จากปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงประชากรดังกล่าวถ้าพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคมของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น จะพบว่าส่งผลต่อโครงสร้างของประชากรที่สำคัญ คือ สัดส่วนระหว่างวัยทำงาน (19-60 ปี) กับวัยที่อยู่ภาวะพึ่งพิง (วัยเด็ก (0-19 ปี) และวัยชรา(มากกว่า 60 ปี) ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วจะประสบปัญหากับประชากรที่มีอายุยืนยาวขึ้น เพราะความก้าวหน้าทางการสาธารณสุข ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ การออกกำลังกายที่ถูกต้องล้วนส่งให้คนในประเทศพัฒนาแล้วมีอายุยืนยาวมากขึ้นตลอดเวลา ในขณะที่อัตราการเกิดของทารกลดลง แต่ในประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้เป็นไปเช่นนี้วัยที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงเป็นวัยเด็ก ซึ่งเนื่องมาจากอัตราการเกิดสูงนั่นเอง
การกระจายตัวของทรัพยากรมนุษย์ การกระจายของประชากรก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งเพราะเป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรบางบริเวณอาศัยอยู่หนาแน่นบางบริเวณก็เบาบาง ทั้งนี้ขึ้นกับสิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการดำรงชีวิตยากง่ายอย่างไรนั่นเอง จะพบว่าบริเวณที่ประชากรหนาแน่นมักเป็นแหล่งที่มีความมั่นคงทางอาหาร เช่น พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำ พื้นที่ผุพังของหินซากภูเขาไฟเก่า พื้นที่ริมฝั่งทะเลและอากาศไม่หนาวเกินไป เป็นต้น โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นโลกเก่าซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานมานานจะหนาแน่นมากเป็นพิเศษ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำของประเทศจีน อินเดียและยุโรป ในปัจจุบันทำเลที่ตั้งที่อยู่ในตำแหน่งที่ควบคุมเส้นทางขนส่งและความได้เปรียบเชิงอุตสาหกรรมก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งให้ประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่หนาแน่น ส่วนบริเวณที่ประชากรเบาบางเป็นพื้นที่ที่หาอาหารได้ค่อนข้างลำบาก เช่น พื้นที่ทะเลทราย ทุ่งหญ้า ที่สูงหรือหนาวจัด
นอกจากการกระจายตัวของประชากรในลักษณะความหนาแน่นแล้ว อีกประการหนึ่งที่สำคัญ คือ ความเป็นเมืองและชนบท กิจกรรมของประชากรที่เป็นสมาชิกของเมืองและชนบทนั้นมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน กล่าว คือ คนเมืองมีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่น กิจกรรมส่วนใหญ่มีการแข่งขันสูง เร่งรีบ รายได้และรายจ่ายสูง ต้องอาศัยทรัพยากรอาหารจากชนบท ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันขึ้นกับบทบาทและหน้าที่ อาชีพผูกพันกับการบริการและอุตสาหกรรม บริโภคพลังงานสูง ส่วนชนบทจะตรงกันข้าม คือ ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายไม่หนาแน่น มีวิถีชีวิตไม่เร่งรีบ อยู่อย่างเรียบง่าย สามารถพึ่งพาตนเองทางการอาหารได้ ปฏิสัมพันธ์แบบเครือญาติ บริโภคพลังงานค่อนข้างต่ำ อาชีพจะผูกพันกับการเกษตรกรรมเป็นสำคัญ จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากภาพที่องค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกาถ่ายภาพโลกเอาไว้ โดยมองเห็นการใช้พลังงานกับความเป็นเมือง (Urbanization) ได้อย่างชัดเจน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)