วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ยุคประชากรล้นเมือง


ภาวะที่ประชากรมีจำนวนมากเกินพื้นที่หรือที่อยู่อาศัย ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนโดยตรง

เนื่องเพราะการที่มีประชากรมากเกินไป ไม่เพียงหมายถึงความหนาแน่นของคนต่อพื้นที่เท่านั้น หากยังหมายถึงการแย่งชิงทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพอีกด้วย เช่น ประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 10 คน แต่มีน้ำเพื่อการบริโภคเพียง 9 แก้วเท่านั้น เช่นเดียวกับอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และที่พักอาศัย ที่ทำให้ต้องเกิดการแย่งชิง หรือไม่ก็บุกรุกพื้นที่ทางธรรมชาติ

การมีประชากรล้นเมืองอาจเกิดได้ทั้งการมีเด็กเกิดใหม่จำนวนมาก รวมทั้งวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ก็ทำให้ชีวิตของคนเรายืนยาวขึ้น นอกจากนี้ การย้ายถิ่นฐานเข้าไปอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของคนต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว ยังทำให้เกิดการขยายออกไปของเมืองเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย หากทรัพยากรได้ถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะสามารถผลิตใหม่ขึ้นมาทดแทนได้ ย่อมจะต้องเกิดเป็นปัญหาขึ้นมาอย่างแน่นอน

ประชากรมนุษย์ในโลกเริ่มมีมาตั้งแต่สิ้นสุดยุคน้ำแข็ง โดยเริ่มรวมตัวกันเป็นชุมชนขึ้น ตั้งแต่เริ่มมีการทำการเกษตร หรือตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยคาดว่าคนทั้งโลกรวมกันแล้วมีอยู่ราว 5 ล้านคน หลังจากนั้นจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นราวปีละเป็นหลักพันเท่านั้น ทว่า ในราวปี 1,000-ปีแรกของคริสตกาล คาดว่าช่วงนั้นมีจำนวนประชากรทั้งโลกราว 200-300 ล้านคน

ในช่วงต้นคริสตกาล ไม่เกิน 1,000 ปี การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในโลกเป็นไปอย่างเชื่องช้าแต่คงที่ อย่างไรก็ตาม ประชากรโลกถูกทำลายลงอย่างมากเมื่อเผชิญกับ "ความตายสีดำ" หรือโรคระบาดครั้งใหญ่ในยุโรปศตวรรษที่ 14 แต่กระนั้น หลังศตวรรษที่ 16 เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประชากรของโลกก็เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างห้ามไม่หยุดฉุดไม่อยู่

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชากรของประเทศในเอเชียบางประเทศ อย่างเช่น ประเทศจีน ประชากรเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วงราชวงศ์หมิง และยิ่งเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดหลังศตวรรษที่ 17 เมื่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมล้ำเข้ามาในดินแดนประเทศจีน ในปี 1804 คาดว่าจีนมีประชากรทั้งสิ้นเป็นพันล้านคนแล้ว

ในปี 2009 คาดว่ามีประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นกว่า 3 เท่าของจำนวนคนที่เสียชีวิตไปในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะตั้งแต่ปี 1950 ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตอาหารก้าวหน้ามาก โดยสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรมาขายในระบบอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัจจุบัน ประมาณการว่าจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นราวปีละ 74 ล้านคน โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 1,100 ล้านคนทั่วโลก โดยแบ่งเป็นทวีปแอฟริกา 1,900 ล้านคน เอเชีย 5,200 ล้านคน ยุโรป 664 ล้านคน อเมริกาใต้และแคริบเบียน 769 ล้านคน และอเมริกาเหนือ 445 ล้านคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น