วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ลักษณะประชากรในทวีปอเมริกาใต้

จำนวนประชากร

            ทวีปอเมริกาใต้มีประชากรประมาณร้อยละ 6 ของโลก มีประชากรประมาณ  382  ล้านคน (ค.ศ.2011) หรือมีจำนวนมากถึงอันดับ 5 ของโลก และมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 22 คนต่อตารางกิโลเมตร  ประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดของทวีป คือ ประเทศบราซิล มีประชากรประมาณ 187 ล้านคน ส่วนประเทศเอกราชที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด คือ ประเทศซูรินาเม มีประชากรประมาณ 5 แสนคน

 การกระจายตัวของประชากร

         เขตที่ประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบางในทวีปอเมริกาใต้

          ทวีปอเมริกาใต้จัดเป็นทวีปที่มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง ทั้งนี้เนื่องจากบางแห่งเป็นพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอุปสรรคต่อความเป็นอยู่ของประชากร เช่น

         - บริเวณลุ่มน้ำแอมะซอน  เป็นที่ราบลุ่มน้ำที่กว้างขวางที่สุดในโลก แต่เป็นเขตป่าดิบที่เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคมติดต่อกัน มีอุทกภัยเกิดขึ้นเสมอและมีสัตว์ป่าที่เป็นอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม

         -  บริเวณที่ราบสูง ซึ่งมีทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น มักเป็นเขตแห้งแล้งเป็นทะเลทราย ดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์

         -  บริเวณเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นเทือกเขาสูงที่มีแนวต่อเนื่องกันยาวที่สุดในโลก เป็นพื้นที่สูงชันทุรกันดาร เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัย

      เขตที่ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในทวีปอเมริกาใต้

         มักเป็นบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเหมาะสมกับการดำรงชีวิต เช่น มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเขตชายฝั่งทะเล มีลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นและปริมาณฝนเพียงพอแก่การเพาะปลูก มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีระบบการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ดังนี้

        – บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ตั้งแต่ตอนใต้ของปากแม่น้ำแอมะซอนลงมาทางใต้ในเขตประเทศบราซิล อุรุกกวัยและบางส่วนของประเทศอาร์เจนตินา

        – บริเวณทางตอนบนของทวีป  นับตั้งแต่ชายฝั่งด้านทะเลแคริบเบียนจนถึงอ่าวปานามา หรือเขตพื้นที่ของประเทศเวเนซุเอลา

        – บริเวณด้านตะวันตกของทวีป ได้แก่ ประเทศโคลอมเบีย  เอกวาดอร์ แถบเมืองลิมาประเทศเปรู

        – บริเวณตอนกลางของประเทศชิลีที่มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน

ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้

        วัฒนธรรมของทวีปอเมริกาใต้จัดอยู่ในกลุ่มวัฒนธรรมละตินอเมริกัน ลักษณะเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาของประชากรมีรากฐานมาจากกลุ่มยุโรปใต้ ผสมผสานกับวัฒนธรรมของชาวพื้นเมืองอินเดียนแดง และ     นิโกร

เชื้อชาติ

               พวกอินเดียนแดง เป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมของทวีปอเมริกาใต้ อาศัยอยู่บริเวณที่สูง บนเทือกเขาแอนดีส เขตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำแอมะซอน ชายฝั่งทะเลแคริบเบียน มีอารยธรรมของตนเอง เช่น ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

               พวกผิวขาวจากยุโรป   ซึ่งอพยพเข้าไปตั้งหลักแหล่งเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 ได้แก่ ชาวสเปน โปรตุเกส  อิตาลี เยอรมัน และโปแลนด์ ส่วนใหญ่เชื้อสายสเปน และโปรตุเกส เข้ายึดครองดินแดนจากชาว พื้นเมือง  อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกและทางใต้ของทวีป

               พวกนิโกร  เข้ามาในสมัยหลัง โดยชาวผิวขาวจับมาเป็นทาส ทำงานตามแหล่งเพาะปลูกในเขตร้อน เหมืองแร่ของชาวผิวขาวในประเทศบราซิล และโคลัมเบีย

               พวกเอเชีย  ได้แก่ ชาวจีน ญี่ปุ่น อินเดียและอินโดนีเซีย  โดยเข้ามาอาศัยดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษและเนเธอร์แลนด์ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1

              พวกเลือดผสม  มีกลุ่มประชากรสายเลือดผสมหลายกลุ่ม คือ

                 -เมสติโซ (Mestizos) เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวขาว กับชาวอินเดียนแดง เป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในทวีปอเมริกาใต้

                 -มูแลตโต (Mulattos) เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวผิวขาว กับนิโกร

                 -แซมโบ (Zambos) เป็นสายเลือดผสมระหว่างชาวอินเดียนแดง กับนิโกร

 2. ภาษาที่ใช้ในทวีปอเมริกาใต้  ได้แก่

             ภาษาสเปนเป็นภาษาทางการของประเทศต่างๆ ที่เคยเป็นอาณานิคมของประเทศสเปนมาก่อน คือ โคลัมเบีย เวเนซุเอลา เอกวาดอร์ เปรู โบลิเวีย ปารากวัย อุรุกวัย อาร์เจนตินา ชิลี

             ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาทางการของประเทศบราซิลเพราะเคยเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสมาก่อน

             ภาษาอินเดียนแดง ชาวอินเดียนแดงพื้นเมืองยังคงพูดภาษาของตน และมี 2 ประเทศที่กำหนดให้ภาษาอินเดียนแดงเป็นภาษาทางการ ควบคู่ไปกับภาษาสเปนด้วย คือ เปรู และโบลิเวีย

             ภาษาอื่นๆ  ในบางประเทศใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ คือ ประเทศกายอานา     หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ประเทศที่ใช้ภาษาฮอลันดา คือ ซูรินาเม ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส คือ เฟรนช์เกียนา

3. ศาสนาในทวีปอเมริกาใต้

              ทวีปอเมริกาใต้ ประชากรส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกาใต้ นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนศาสนาลัทธิความเชื่ออื่นมีประชากรส่วนน้อยนับถือ พอสรุปได้ดังนี้

              ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก  นำมาเผยแพร่โดยชาวสเปน และ โปรตุเกส ตั้งแต่ระยะแรกที่เริ่มเข้ามาแสวงหาอาณานิคม จึงมีประชากรชาวอเมริกาใต้นับถืออยู่ถึง ร้อยละ90

             ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์  ประชากรอีกร้อยละ10 นับถือ นำมาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกา และศาสนาอื่นๆ ได้แก่ ลัทธิความเชื่อของชาวอินเดียนแดง ลัทธิความเชื่อของชาวนิโกร ศาสนายูดาย ของชาวยิว ลัทธิขงจื๊อและพระพุทธศาสนาของชาวจีน และศาสนาฮินดู ของชาวอินเดีย

            ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ยึดมั่นในศาสนาอย่างยิ่งโดยสืบทอดมาจากประชากรที่อพยพมาจากภาคใต้ของทวีปยุโรป เช่น ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกในประเทศบราซิล มีการจัด   งานคาร์นิวัลเป็นงานสำคัญและยิ่งใหญ่ มีการเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน  เช่นเดียวกับงานคาร์นิวัลที่จัดขึ้นในประเทศโปรตุเกส เป็นต้น

วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การวางแผนประชากร

หากสังคมใดไม่ได้ให้ความสนใจกับการเพิ่มหรือการลดของประชากรในสังคม ปัญหาด้านประชากรก็จะเกิดขึ้นตามมา กล่าวคือ หากมีจำนวนประชากรเพิ่มมากเกินไป ปัญหาด้านการผลิต การบริการ และการบริโภคของคนในสังคมจะเกิดความไม่เพียงพอตามมา หรือหากมีจำนวนประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัญหาด้านจำนวนคนที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศก็จะเกิดขึ้นตามมาได้เช่นกัน ดังนั้นรัฐจึงจำเป็นที่จะต้องทำการควบคุมปริมาณสมาชิกภายในสังคมให้มีขนาดที่เหมาะสม

การวางแผนครอบครัวถือได้ว่าเป็นวิธีการหนึ่งของรัฐที่ถูกนำมาใช้ในการวางแผนด้านประชากรของประเทศ โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนคนเกิดให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คู่สมรสสามารถเลี้ยงดูบุตรได้อย่างมีคุณภาพ ดังนั้นรัฐจึงต้องให้ความรู้และรณรงค์ในการวางแผนครอบครัวแก่คู่สมรส โดยให้คู่สมรสมีการคุมกำเนิด มีบุตรในจำนวนที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของครอบครัว

การคุมกำเนิดมิได้เป็นวิธีการควบคุมการเกิดในการวางแผนครอบครัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการควบคุมการเกิดของประชากรให้เกิดในเวลาที่เหมาะสม โดยมีพ่อและแม่ที่มีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม วิธีการคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีหลายวิธี สามารถเลือกใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เช่น การทำหมัน การนับวันตกไข่ของสตรี การกินยาคุมกำเนิด การใส่ห่วง การใช้ถุงยางอนามัย การฉีดยา การใช้โฟม ใช้เยล และใช้ครีมฆ่าเชื้อ เป็นต้น

ประชากรมนุษย์ถือได้ว่า เป็นทรัพยากรที่สำคัญประเภทหนึ่งของสังคม ดังนั้นการควบคุมจำนวนประชากรให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ปัจจุบันมนุษย์มีความสามารถในการควบคุมจำนวนประชากรมากกว่าให้ธรรมชาติเป็นตัวควบคุม หากเรามองย้อนไปในอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่า มนุษย์พยายามทำการควบคุมจำนวนประชากรด้วยตัวเองมากกว่าที่จะให้ธรรมชาติเป็นผู้ควบคุม และหาทางเอาชนะธรรมชาติในการเพิ่มและลดจำนวนประชากรตลอดมา

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จากเอกนครสู่เมืองหลัก วงจรปัญหาการพัฒนาเมืองของประเทศไทย

    ในช่วงหลายทศษวรรตที่ผ่านมา การพัฒนาในประเทศไทยมีจุดเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการลงทุนขนาดใหญ่ จนในยุคหนึ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยถูกขนานนามว่า เสือตัวที่ห้าของเอเชีย สิ่งที่ตามมาจากการเติบโตทางเศรษฐกิจคือ การกลายเป็นเมืองเอกนครของเมืองหลวงของไทย
เอกนครคืออะไร

                เมืองที่ลักษณะการกระจายตัวของประชากรในเมืองอันดับที่หนึ่งมีอัตราส่วนประชากรที่อยู่อาศัยต่อประชากรทั้งประเทศที่สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเมืองที่มีขนาดรองลงไปมีขนาดใหญ่กว่าหลายเท่า หรือไม่เป็นไปตามกฎตำแหน่งเมือง-ขนาดประชากร ของจอร์จ ซิพฟ์ (George K.Zipf) และภายในประเทศจะมีเพียงเมืองขนาดใหญ่ที่สุด ไม่มีเมืองขนาดใหญ่รองลงไป แต่จะมีเพียงเมืองขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งจะพบว่าในประเทศไทยความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานครที่ชัดเจนมาก

 กระบวนการกลายเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร

                กรุงเทพมักถูกกล่าวขานเสมอว่าเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่งทุกอย่างของประเทศไทย หรือที่กล่าวว่า “กรุงเทพคือประเทศไทย หรือ ประเทศไทยคือกรุงเทพ ”ความเป็นเอกนครของกรุงเทพมหานคร อาจจะไม่ได้เกิดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงปัจจัยเดียวที่ส่งผลทั้งต่อ การขยายตัวของกรุงเทพมหานคร แต่อาจเกิดปัจจัยต่างๆร่วมกัน ซึ่งอาจพิจารณาหาจากปัจจัยทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
                ในเชิงประวัติศาสตร์ การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีการบังคับใช้บริเวณกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองท่าขนส่งสินค้าในยุคอาณานิคม เป็นที่ตั้งทางธุรกิจที่สำคัญของพวกพ่อค้าชาวยุโรป และชาวจีน นอกจากนั้นยังมีการสร้างสาธารณูปโภคด้านการขนส่งเพื่อรองรับการค้ากับต่างชาติ ซึ่งสังเกตุได้จากการสร้างรถไฟ และถนนหนทางที่มุ่งเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อขนส่งสินค้าจากพื้นที่ต่างๆภายในประเทศให้กับต่างประเทศ อีกปัจจัยหนึ่งที่เกื้อหนุนคือทางด้านภูมิศาสตร์ กรุงเทพมีทำเลที่ตั้งใกล้ทะเล ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่รอบๆกรุงเทพมหานคร ทำให้กรุงเทพเป็นพื้นที่สำคัญต่อระบบการค้าพาณิชนิยมจนมาถึงระบบทุนนิยมในปัจจุบัน

ในเชิงการเมือง ระบบการเมืองการปกครองของประเทศไทยเป็นลักษณะการปกครองแบบรวมศูนย์ตั้งแต่การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 เรื่อยมา แม้ระบอบการปกครองเปลี่ยนแปลงไปแนวคิดรวมศูนย์การปกครองที่มีการสั่งการจากส่วนกลางยังคงดำรงอยู่ ซึ่งเห็นได้จากบทบาทและหน้าที่ของการวางแผนพัฒนามักมาจากส่วนกลางหรือกรุงเทพมหานคร ทำให้แผนพัฒนาประเทศหลายฉบับจึงมีแนวโน้มเอื้อประโยชน์แก่ชนชั้นนำในกรุงเทพมหานคร
การกลายเป็นเมืองที่ไม่แท้จริงของกรุงเทพมหานคร

                การกลายเป็นเมืองในสังคมอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตเมือง ดังนั้นการขยายตัวของเมือง จึงเชื่อมโยงกับเพิ่มประชากรและการกลายเป็นอุตสาหกรรม แต่ในประเทศโลกที่สาม ไม่มีความสัมพันธ์ทั้งสามอย่างเสมอไป ทฤษฎีทันสมัยมักถือว่า เมืองเป็นศูนย์กลางของการเติบโตของประชากร และเป็นแรงผลักดันสำหรับการพัฒนา นำไปสู่สังคมสมัยใหม่ หรือการผลิตรูปแบบใหม่ทางวัฒนธรรม ในกรณีของประเทศไทย กรุงเทพมหานครนั้นขยายจากการย้ายถิ่นเข้าจากชนบท การกลายเป็นอุตสาหกรรมไม่ใช้เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง แต่เกิดจากการเป็นศูนย์กลางการค้าและการบริการ
                การเติบโตของกรุงเทพมหานครจะแตกต่างไปจากประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกในศตวรรษที่ 19 เพราะกรุงเทพมหานครเติบโตโดยอิทธิพลของระบบอาณานิคม ทำหน้าที่เป็นเมืองส่งสินค้าจากพื้นที่ด้านในไปยังประเทศเมืองแม่ กรุงเทพมหานครเติบโตขึ้นเพื่อรับใช้นักลงทุนจากระบบอาณานิคม และจำลองเป็นบ้านหลังที่สองให้แก่ชาวยุโรป ที่ดำรงวิถีชีวิตของตนเองโดยสุงสิงกับวัฒนธรรมของคนพื้นเมือง ดังนั้นในทางวัฒนธรรม เมืองเหล่าจึงโดดเดี่ยวจากบริเวณโดยรอบ และเหล่าอาณานิคมต้องเพียงลักษณะเมืองที่สามารถรองรับการส่งออกวัตถุดิบและนำเข้าสินค้าจากยุโรป ซึ่งสังเกตได้จากถนน ทางรถไฟ การคมนาคมต่างๆเพื่อรองรับการลงทุนในประเทศ( ชูศักดิ์ , 2542 )

ระบบเศรษฐกิจ การเมืองในยุคอาณานิคมมีส่วนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองที่บิดเบี้ยว  ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีการแพร่กระจายหรือทฤษฎีความทันสมัยที่คาดการณ์ไว้ ผลที่ตามมาคือสภาวะเติบโตที่เกินขนาดของเมือง ลักษณะการขยายตัวเมืองของกรุงเทพมหานครจะมีลักษณะที่สำคัญ 3ประการคือ
1.     การอพยพจากชนบทสู่เมือง จากการศึกษาของประภา คงปัญญา (2543) พบว่าลักษณะเขตที่อยู่อาศัยเดิมของย้ายถิ่น 5 ปีในกรุงเทพมหานครเกิดมากจากพื้นที่ชนบทส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดจากความไม่มั่นคงในวิถีชีวิตการเกษตรในชนบทเพราะที่ดินราคาแพงและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น อันเนื่องจากการปฏิวัติเขียว ต้นทุนการผลิตการเกษตรสูงขึ้น เกษตรกรไม่สามารถยืนอยู่บนระบบทุนนิยมได้ บางกลุ่มจึงต้องอพยพเข้าเมืองเพื่อหางานทำ ดังนั้นการเติบโตของเมืองในประเทศจึงเป็นไปอย่างไม่พึ่งประสงค์
2.     ตลาดของสินค้าจากประเทศไทยมักเป็นตลาดต่างประเทศ ในขณะที่ผู้บริโภคภายในประเทศอดอยากหรือต้องซื้อของแพง การเกษตรที่มุ่งรับใช้ผลประโยชน์ภายนอกประเทศมากกว่าที่จะสนับสนุนการพัฒนาในประเทศ ซึ่งจะเห็นได้จากการค้าในกรุงเทพมหานคร โดยมากจะเป็นวัตถุดิบเพื่อการส่งออก ธุรกิจการค้าในเมืองมักตกอยู่ภายใต้การควบคุมของบรรษัทข้ามชาติเป็นส่วนใหญ่ และการขยายตัวของภาคธุรกิจของเมืองส่วนใหญ่เป็นการเติบโตในภาคธุรกิจบริการที่ไม่เป็นทางการ
3.     สภาพแวดล้อมทางประชากร การเติบโตของเมืองในประเทศโลกที่สามมักจะก่อให้เกิดการขาดแคลนที่อยู่อาศัย เกิดชุมชนแออัด หรือคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่ ในกรุงเทพมหานครปี 2543 จากการสำรวจของการเคหะแห่งชาติพบจำนวนชุมชน 1,226 ชุมชน  จำนวนครัวเรือน 249,822 หรือมีจำนวนประชากร 1,124,199 คน หากเทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดของกรุงเทพมหานครคิดเป็นประมาณ 1 ใน 5 ของประชากรทั้งหมดในกรุงเทพฯ(ประชากรจากทะเบียนราษฎรปี 2543 มีจำนวน 5,680,380 คน)

การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันกับการย้ายถิ่น

จากข้อมูลสำมะโนประชากร ปี 2523 และ ปี 2543       จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครยังคงมีการเพิ่มจำนวน จากการอพยพในภาคต่างๆ โดยคิดเป็นอัตราการย้ายถิ่นเกิดเข้าจาก ปี พ.ศ. 2523 โดย 19.6 เพิ่มขึ้นเป็น 32.3 ในปี2543 ต่อประชากรถิ่นปลายทาง 1000 คน จำนวนผู้ย้ายถิ่นเพิ่มจาก1,188,757 ในปี 2523 เป็นจำนวน 2,084,256 คนหรือมีการเพิ่มเกือบสองเท่าในระยะเวลา 20 ปีแต่อย่างไรก็ตามสัดส่วนการย้ายถิ่นเข้ากรุงเทพมหานครในปี 2543 ลดลงจากการขยายการพัฒนาพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร ทำให้แนวโน้มการย้ายถิ่นในปี  2543 ลดลง แต่เพิ่มสูงขึ้นในกรุงเทพมหานคร
ปัจจัยด้านความแตกต่างของการพัฒนาโดยเฉพาะทางเศรษฐกิจระหว่างเมืองและชนบทจะส่งผลต่อการย้ายถิ่นมากที่สุด ตามทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นจะเกิดขึ้นเมื่อมีโอกาศทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่ต้นทางและปลายทาง ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของรายได้ โอกาศการมีงานทำ ซึ่งพิจารณาจากอุปทานและอุปสงค์ของตลาดแรงงาน หรือแม้แต่ในด้านอื่นๆดังเห็นได้จากการพัฒนาทางเศรษฐกิจในเขตชนบทต่างจากเขตเมืองค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นแหล่งรวมของการพัฒนาและการย้ายถิ่น
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ขยายตัวขึ้นจากการเพิ่มจำนวนประชากรย้ายถิ่นจากชนบทมาสู่เมืองอันเนื่องจากการเน้นการลงทุนเฉพาะพื้นที่ ผลกระทบการพัฒนาประเทศในลักษณะดังกล่าว ทำให้เกิดความแตกต่างของระดับการพัฒนา และส่งผลทำให้เกิดปัญหาตามมาของการย้ายถิ่นเข้าอย่างมหาศาลของประชาชนในชนบท ทั้งปัญหาที่ต้นทางการย้ายถิ่นและปลายทางการย้ายถิ่น ในส่วนปัญหาของเมืองหรือปลายทางการย้ายถิ่น อาทิเช่น การขาดแคลนที่พักอาศัย การบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้กับผู้ย้ายถิ่น และยังส่งผลให้เกิดภาวะว่างงาน

เมืองหลัก : แนวทางการกระจายการพัฒนาของรัฐบาลไทย

จากปัญหาการพัฒนาที่ไม่เท่าเทียมกันข้างต้น ทำให้รัฐบาลไทยความพยายามที่จะลดความเหลื่อมล่ำระหว่างเมืองหลวงและภูมิภาคลง โดยส่งเสริมให้มีการลงทุนและพัฒนาเศรษฐกิจในเมืองหลักแต่ละภูมิภาคเพื่อสกัดกั้นการอพยพของประชากรในชนบทสู่กรุงเทพฯ โดยได้รับแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาเมืองหลัก
การพัฒนาแนวคิดเสาหลักการพัฒนาเริ่มจากการศึกษาของ Perroux (1950,1971) ได้กล่าวถึงประเด็นปฎิสัมพันธ์ระหว่างภาคอุตสาหกรรมด้วยกัน ซึ่งเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจถูกสร้างขึ้นมาจากภาคการผลิตทางเศรษฐกิจที่เด่นๆซึ่งธุรกิจที่เป็นพลังหักนี้มักมีขนาดใหญ่และรวมกลุ่มกัน ทำให้มีอิทธิพลต่อทั้งผู้ส่งวัตถุดิบและผู้ซื้อ ดังนั้นเสาหลักความเจริญในที่นี้จึงเป็นเรื่องของภาคการผลิตทางเศรษฐกิจ และเป็นการนำเอาแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมต่างๆเข้าด้วยกัน ซึ่งส่งผลถึงความเติบโตด้านอื่นๆที่ตามมาในลักษณะของ multiplier effects ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของแนวคิดนี้ในประเทศไทย ได้แก่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก (eastern seaboard) ซึ่งมีภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่สำคัญ (Perroux ,1950 1971อ้างใน ชูศักดิ์ , 2542 )
                Boudeville (1966) และคนอื่นๆได้พยายามประยุกต์เอาแนวคิด เสาหลัก มาใช้ในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งกลายเป็นแนวคิดที่เรียกว่า ศูนย์กลางความจริญ (growth center ) กิจกรรมที่เป็นหลักของความเจริญกลายเป็นกิจกรรมต่างๆที่ตั้งอยู่โดยรอบกิจกรรมที่เป็นพลังพลักดัน การพัฒนาทางพื้นที่และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ จึงมารวมตัวกันอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์การเติบโตของเมือง ซึ่งเน้นไปที่กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมบางอย่าง และเน้นการเติบโตของอุตสาหกรรมในเขตเมือง อันจะนำไปสู่การพัฒนาโดยรวม (Boudeville ,1966 อ้างใน ชูศักดิ์ , 2542)

                สาเหตุที่ทำให้แนวคิดเรื่อง growth center ได้รับความสนใจในการเป็นยุทธศาสตร์พัฒนาภูมิภาคมี 3 ประการคือ
1.     ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางความเจริญมีความเหมาะสมในการลงทุทั้งภาครัฐและเอกชน ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเฉพาะ ดีกว่าการกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ
2.     เป็นแนวคิดที่เกิดจากประสบการณ์การพัฒนาที่พบเห็นได้ในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก ที่ซึ่งารขยายตัวเมืองและการขยายตัวอุตสาหกรรมเกิดควบคู่กันไป และมีความสำคัญต่อการพัฒนาทุนนิยม
3.     แนวคิด growth center เกิดจากสาขาวิชาหลักทางเศรษฐศาตร์ จึงได้รับการขานรับอย่างเต็มกำลังจากระบบราชการและการเมือง
การพัฒนาเมืองหลักจึงกลายเป็นแนวคิดการพัฒนาประเทศหลักที่รัฐบาลประเทศไทยเริ่มใช้มาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่แผนที่ 3 (พ.ศ.2514-2519)และฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) เป็นต้นมา ซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างความเป็นธรรมและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดนโยบายพัฒนาเมืองหลักและเมืองรองเพื่อพัฒนาภูมิภาคต่างๆซึ่งได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ เป็นเมืองหลักของภาคเหนือ  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และนครราชสีมา ในภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี และภาคใต้ ได้แก่ สงขลา หาดใหญ่ ภูเก็ต และสุราษฏร์ธานี  ส่วนในภาคการปฏิบัติเมืองหลักเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจังในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 – 2529)

วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คอนโดสุขุมวิทแผ่วทำเลอ่อนนุช-แบริ่ง2ปีโอเวอร์ซัพพลายมีสไตล์ฯเกาะเซ็นทรัลลุยบางนา-ตราด ( 13 มิถุนายน 2556 )

คอนโดแนวรถไฟฟ้าอ่อนนุชแบริ่ง ส่อล้น แรงซื้อเริ่มอืด "มีสไตล์"หันลุยบางนา-ตราด เน้นแตกต่างสร้างยอด

นายศุภชัย แจ่มมโนวงศ์ กรรมการบริหารบริษัท เซ็นจูรี่ 21 เรียลตี้ แอฟฟิลิเอทส์(ประเทศไทย) เปิดเผยว่า จากการที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เข้ามาพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมเกาะแนวรถไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงส่วนต่อขยาย ส่งผลให้ปัจจุบันในทำเลบางสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสเริ่มมีซัพพลายเหลือขายมากจนอาจโอเวอร์ซัพพลาย และแรงซื้อเริ่มชะลอตัวลง

ทั้งนี้ สภาพดังกล่าวเริ่มเห็นแล้วในทำเลอ่อนนุช-แบริ่ง ที่มีหน่วยขายทั้งหมดประมาณ1 หมื่นยูนิตปัจจุบันมีซัพพลายเหลือขายถึง5,000 ยูนิต จาก 10 โครงการที่เปิดขายอยู่เช่นเดียวกับอุดมสุขที่เริ่มเห็นแนวโน้มการขายหรือจองที่ช้าลง ไปจนถึงย่านแบริ่งสุขุมวิท ที่ตลาดเริ่มซึม และคาดว่าไม่เกิน2 ปี จะโอเวอร์ซัพพลายเพราะของเก่าขายไม่ออก มีโครงการใหม่เกิดขึ้นมาเพิ่มอีก

"ถ้าทำเลแนวรถไฟฟ้าโอเวอร์ซัพพลายจะทำให้โครงการคอนโดมิเนียมหันมาขยายในทำเลที่ถัดมามากขึ้น เช่น บางนา-ตราด ที่มีระบบขนส่งมวลชนพร้อม เช่น โครงการมีสไตล์ แอท สุขุมวิท-บางนา ซึ่งบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาโครงการ" นายศุภชัย กล่าว

ด้านนายสมบัติ แสงรัฐกาญจนสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท มีสไตล์ แลนด์ กล่าวว่า บริษัทและกลุ่มผู้ร่วมทุนจากโครงการทรูทองหล่อ ได้พัฒนาโครงการมีสไตล์ แอทสุขุมวิท-บางนา ขึ้น โดยเป็นคอนโดโลว์ไรส์ความสูง 8 ชั้น 3 อาคาร จำนวน 566 ยูนิตบนพื้นที่ 4 ไร่ รวมมูลค่าโครงการ 1,200 ล้านบาท คาดปิดการขาย 90% ภายใน 6 เดือนนับจากนี้ จากปัจจุบันขายพรีเซลแล้ว 50%

สำหรับโครงการดังกล่าว จะเน้นจุดเด่นทำเลหลังห้างเซ็นทรัลบางนา ทางเข้าออกได้ทั้งซอยอุดมสุข ถนนศรีนครินทร์ และถนนบางนา-ตราด และเน้นการออกแบบที่แตกต่างจากคอนโดมิเนียมทั่วไป โดยเฉพาะสีสันและงานศิลปะ วางราคาขายเริ่มต้น 1.49 ล้านบาท คาดแล้วเสร็จกลางปี 2558

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนลงทุนไม่ต่ำกว่า3,000 ล้านบาท ผุดโครงการมิกซ์ยูสคอนโดมิเนียมและคอมมูนิตีมอลล์ย่านสำโรงโดยคาดว่าจะเริ่มในปี 2557 และปลายปีนี้จะเปิดโครงการคอนโดมิเนียม แอล สไตล์ ที่ห้วยขวาง มูลค่าโครงการ 300 ล้านบาท ขณะที่ปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ 2,000 ล้านบาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การจัดรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์


- ในเชิงปริมาณ ได้มีการคิดดัชนีชี้วัด เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการจัดรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน เช่น ดัชนีบ้าน  
   ใกล้เคียง




R
- เท่ากับ 1 การตั้งถิ่นฐานจะเป็นแบบสุ่ม
R
- น้อยกว่า 1 เป็นแบบเกาะกลุ่มหรือกระจุก
R
- มากกว่า 1 เป็นแบบกระจายปกติ

- ประโยชน์ของวิธีการนี้ คือ ใช้ทดสอบรูปแบบการตั้งถิ่นฐานด้วยวิธีการทางสถิติที่พอจะเชื่อถือได้ ว่าใน
   สภาพแวดล้อมต่างกัน  การกระจายของการตั้งถิ่นฐานจะเป็นอย่างไร
          - ในสภาพแวดล้อมที่เหมือนกันแหล่งตั้งถิ่นฐานจะกระจายในสภาพปกติ
          -  ถ้าสภาพภูมิประเทศแตกต่างกันมาก ค่า
          -  นักภูมิศาสตร์ใช้ดัชนีนี้เปรียบเทียบกำหนดรูปแบบการตั้งถิ่นฐาน  เพื่อค้นหาอิทธิพลของ
              ภูมิประเทศที่มีต่อการกระจายของแหล่งตั้งถิ่นฐาน
          -  เพื่อเป็นประโยชน์ในการจัดระบบการตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ใหม่ หรือ วางแผนการตั้งถิ่นฐานใหม่
          -  แต่วิธีการนี้ใช้ได้ในสภาพปัจจุบันเท่านั้น ไม่สามารถพิสูจน์ความ  เป็นมาของแหล่งตั้งถิ่นฐาน
             ได้ เนื่องจากการกระจายแบบเกาะกลุ่มไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการตั้งถิ่นฐานแบบเกาะกลุ่ม
              มาแต่แรก